ส่วนประกอบของอากาศ
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แต่ในความเป็นจริง อากาศที่เราหายใจเข้าไปไม่ได้มีเพียงก๊าซออกซิเจน ส่วนประกอบของอากาศประกอบไปด้วยก๊าซหลายชนิด
1. ไนโตรเจน (N2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ช่วยให้ไฟติด และไม่ติดไฟ อีกทั้งยังเป็นองค์ประกอบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในอากาศมีปริมาณของก๊าซไนโตรเจนอยู่ประมาณ 78.084% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดในอากาศ
2. ออกซิเจน (O2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด เป็นก๊าซที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ในอากาศมีปริมาณของก๊าซออกซิเจนมากเป็นอันดับสองรองจากก๊าซไนโตรเจน ถึง 20.948%
3. อาร์กอน (Ar) เป็นก๊าซเฉื่อยที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่ติดไฟ ใช้เป็นแก๊สบรรจุในหลอดไฟ เพื่อให้ไส้หลอดมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ในอากาศมีปริมาณของก๊าซอาร์กอนประมาณ 0.934%
4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ติดไฟ หากได้รับเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก อาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองในจมูกหรือทางเดินหายใจได้ ในอากาศมีปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 0.031%
5. นีออน (Ne) เป็นก๊าซเฉื่อย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาให้แสงสีส้มแดง ในอากาศมีปริมาณของนีออนประมาณ 0.002%
ส่วนที่เหลือจะเป็นก๊าซซึ่งมีปริมาณน้อยมากในอากาศ เช่น ฮีเลียม ซีนอน คริปทอน ซึ่งเป็นก๊าซเฉื่อย มีเทน ไฮโดรเจน โอโซน ไอโอดีน คาร์บอนมอนอไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ แอมโมเนีย ไอน้ำ ฝุ่นละออง ละอองเกสรจากพืช และแบคทีเรียต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีก๊าซพิษบางชนิดที่โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาจปล่อยออกมาจนกลายเป็นมลภาวะทางอากาศ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
ทาง ALS สามารถทดสอบปริมาณส่วนประกอบของสารอินทรีย์ที่อยู่ในอากาศ ได้โดย เครื่อง Gas Chromatograph -Mass Spectrometer (GC-MS)
เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาชนิดและปริมาณของสารที่สนใจในตัวอย่างได้ โดยลักษณะของสารหรือตัวอย่างที่จะวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ได้ จะต้องมีคุณสมบัติในการระเหยกลายเป็นไอได้ง่าย เพราะเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ใช้ในการ แยกสารผสมออกจากกันในสถานะแก๊ส โดยอาศัยความแตกต่างกันของคุณสมบัติในการละลายและความสามารถในการดูดซับของสารแต่ละชนิด บนเฟสเคลื่อนที่ (Mobile phase) และเฟสอยู่กับที่ (Stationary phase)
ขั้นตอนการตรวจสอบสถานที่ในการเก็บตัวอย่าง
เจ้าหน้าที่ ทำการตรวจสอบสถานที่ และบริเวณจุดที่เก็บตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ ต้องเดินทางไปตรวจสอบสถานที่เก็บตัวอย่างก่อนการเก็บตัวอย่างล่วงหน้าเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเก็บตัวอย่าง หากพบว่าบริเวณที่เก็บตัวอย่างไม่มีความปลอดภัยในการเก็บตัวอย่าง ให้เจ้าหน้าที่ แจ้งกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อดำเนินการปรับปรุงและแก้ใข
ขั้นตอนการเตรียมอุปกรณ์
เจ้าหน้าที่ชักตัวอย่างต้องดำเนินการจัดเตรียมอุปกรณ์ สำหรับการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อวิเคราะห์หาสารอินทรีย์ระเหยง่ายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
ขั้นตอนการเตรียมสถานที่และการเลือกพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างอากาศ
-สถานที่เก็บอากาศเป็นห้องที่ใช้งาน การเก็บอากาศในห้องที่ใช้งาน แบ่งเป็น 3 ระยะ
-ห้องที่เพิ่งดำเนินการสร้างเสร็จ
-ห้องที่ดำเนินการทำงานแล้ว
-ห้อง ที่ดำเนินการทำงานแล้วพบว่าบริเวณที่ทำงานนั้นๆมีปัญหา
-สถานที่เก็บอากาศเป็นพื้นที่ทำงานทั่วไป และด้านนอกอาคาร